ไม้เท้าเป็นตัวช่วยเพื่อให้เกิดความมั่นคง ลดความเจ็บปวด และลดแรงที่กระทำต่อข้อเข่า เมื่อต้องเดินเป็นเวลานานหรือขณะขึ้นลงบันได โดยถ่ายน้ำหนักไปที่ไม้เท้าเพื่อผ่อนแรงที่ จะลงไปที่ข้อเข่า มีขั้นตอนดังนี้
การเลือกไม้เท้า
1. ควรเลือกไม้เท้าที่มีจุกยางเพื่อให้สามารถเกาะพื้นผิวได้ดี
2. สามารถปรับระดับได้ หรือมีความสูงที่เหมาะสม โดยเมื่อวางไว้ข้างลำตัวมือจับควรอยู่ตรงกับบริเวณข้อมือ
ถือไม้เท้า
1. ควรถือไม้เท้าฝั่งตรงข้ามข้างที่เจ็บหรือมีปัญหา
2. หากมีปัญหาสองข้าง ควรถือด้านตรงข้ามข้างที่มีปัญหา หรือเจ็บมากกว่า
3. หากรู้สึกไม่มั่งคง หรือไม่ถนัดอาจถือข้างเดียวกับด้านที่เจ็บได้
การเดิน
1. ยกไม้เท้าไปด้านหน้าเท่าระยะก้าว เฉียงไปด้านข้างเล็กน้อย
2. ก้าวขาข้างที่เจ็บไปถึงระดับไม้ มือออกแรงทิ้งน้ำหนักที่ไม้เท้า
3. ก้าวขาอีกข้างตามไปที่ระดับเดียวกัน
**หากเก่งแล้วสามารถก้าวขาที่เจ็บไปพร้อมกับการยกไม้เท้าได้ (ไม้ ขาเจ็บ ขาดี)
การเดินขึ้นบันโด
1. ก้าวขาที่ไม่เจ็บขึ้นไปก่อน ถ่ายน้ำหนักบางส่วนไปที่ไม้เท้า
2. ก้าวขาที่เจ็บตามไปที่ขั้นเดียวกัน
3. ยกไม้เท้าตาม
*กรณีที่มีราวบันไดให้จับราวบันได มืออีกข้างในการถือไม้เท้า ถ่ายน้ำหนักไปที่ราวบันไดและไม้เท้า (ไม้ ขาเจ็บ ขาดี)
การลงบันได
1. ยกไม้เท้าลงก่อน แล้วถ่ายน้ำหนักไปที่ไม้เท้า
2. ก้าวขาที่เจ็บลง
3. ก้าวขาข้างที่ไม่เจ็บตามไปที่ขั้นเดียวกัน
*กรณีที่มีราวบันไดให้จับราวบันไดและใช้มืออีกข้างในการถือไม้เท้า ถ่ายน้ำหนักไปที่ราวบันไดและไม้เท้า
**เทคนิคช่วยจำการขึ้นลงบันได ดีขึ้น-เจ็บลง (ไม้ ขาเจ็บ ขาดี)
การลุกจากเก้าอี้
1. วางเท้าให้ราบกับพื้นทั้งสองข้าง อาจขยับสะโพกเลื่อน จากเก้าอี้ให้เท้าราบกับพื้น
2. เท้ากับข้อเข่าตั้งฉากกัน เท้าวางกว้างเท่ากับไหล่
3. มือยันที่เก้าอี้ หรือที่พักแขน พร้อมกับโน้มตัวไปด้านหน้า
4. ยืนขึ้น เทยียดลำตัวตรง
*หากมีไม้เท้าสามารถถ่ายน้ำหนักไปที่ไม้เท้าช่วยในการลุกยืนได้
**ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการหกล้ม ควรทำในขณะที่นั่งบนเก้าอี้เพื่อเพิ่มความมั่นคง เช่น การสวมรองเท้า การอาบน้ำ เป็นต้น
การนั่งเก้าอี้จากท่ายืน
1. ดูให้มั่นใจว่าเก้าอี้มีความมั่นคง ยืนหลังชิดกับเก้าอี้
2. มือจับที่เก้าอี้หรือที่พักแขนแล้วถ่ายน้ำหนักลง
3. ก้มตัวย่อลง ค่อยๆผ่อนแรงนั่งบนเก้าอี้
*หากมีไม้เท้าสามารถถ่ายน้ำหนักไปที่ไม้เท้าช่วยในการนั่งลงได้